การแกะสลัก

การแกะสลัก  หมายถึง วิธีการเอาส่วนย่อยออกจากส่วนรวม ซึ่งเป็นกระบวนการในทางลบที่ปรากฏหรือเหลือไว้เฉพาะส่วนที่ต้องการ  ผลงานที่ได้เรียกว่า “รูปสลัก” การแกะสลักส่วนใหญ่จะใช้วัสดุที่มีเนื้อไม่แข็งมากนัก  เช่น ปูนปลาสเตอร์ ปูนผสมทราย ไม้เนื้ออ่อน สบู่ ผักผลไม้ชนิดต่างๆ ที่สามารถนำมาแกะสลักได้  เป็นต้น

ประเภทของการแกะสลัก
ประเภทของงานแกะสลักแบ่งออกได้เป็น  3 ลักษณะ ดังนี้ แบบลอยตัว สามารถมองเห็นได้ทุกด้าน  เช่น ภาพพระพุทธรูปทั้งองค์ แบบนูนสูง เป็นภาพที่มองเห็นเพียงครึ่งเดียวจากภาพเต็มตัว  เช่น การแกะสลักลงบนแผ่นไม้ แบบนูนต่ำ เป็นภาพที่มองเห็นเฉพาะหน้าตรงเท่านั้น  เช่น ภาพบนเหรียญ         นอกจากการแกะสลักมีลักษณะเช่นเดียวกับประเภทของการปั้นแล้ว  การแกะสลักกับการปั้นยังมีข้อแตกต่างกันตรงที่การแกะสลักจะมีแบบต่างๆ มาก ขึ้น  เช่น แบบแกะสลักลายเส้น แบบร่องลึก และแบบร่องตื้น เป็นต้น ซึ่งวิธีการแกะ สลักก็จะทำให้ลักษณะเซาะร่องเป็นลายเส้นลงไปในเนื้อวัสดุ  มีทั้งเซาะร่องเป็นแบบตื้นและลึก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของการแกะสลักที่จะนำไปใช้

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลักและวิธีการเก็บรักษาเครื่องมือ
        วัสดุที่ใช้ในการแกะสลัก
วัสดุที่ใช้สำหรับแกะสลักมีมากมายหลายชนิด  ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน เริ่มตั้งแต่วัสดุสำหรับการแกะสลักแบบง่ายๆ  เนื้อวัสดุไม่แข็งมากนัก ไปจนถึงวัสดุที่มีความสลับซับซ้อนต้องใช้เครื่อง มือไฟฟ้าเข้าช่วยในการปฏิบัติงานเพราะฉะนั้นในการเลือกใช้วัสดุจึงต้องคัด เลือกให้เหมาะสมกับงานแต่ละชนิด ดังนี้

1. ปูนปลาสเตอร์ หาได้ตามร้านเครื่องเขียนหรือร้านขายอุปกรณ์ทางศิลปะทั่วไป  ธรรมชาติของปูนปลาสเตอร์จะมีเนื้อเป็นผงสีขาว ใช้ผสมกับน้ำอัตราส่วนน้ำ  1 ส่วน ปูนปลาสเตอร์ 2 ส่วน แต่ถ้าต้องการให้เนื้อปูนมีความหนาแน่นมากๆ  อัตราส่วนของปูนปลาสเตอร์อาจจะผสมลงไปมากกว่านี้ก็ได้ ปูนปลาสเตอร์ที่มีคุณภาพดีเนื้อปูนจะแข็งตัวเร็ว  เมื่อจับผิวกายภายนอกจะรู้สึกร้อน การเลือกปูนปลาสเตอร์จึงควรเลือกปูนที่ใหม่และมีคุณภาพดี

2. ปูนผสมทราย เป็นวัสดุสำหรับการแกะสลักที่เกิดจากการใช้วัสดุผสม กัน  2 ชนิด คือ ปูนปลาสเตอร์ และทรายในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ถ้ามีส่วนผสมของทราย มากเกินไปเนื้อปูนจะร่วนไม่เกาะติดกัน  การใช้วัสดุปูนผสมทรายนั้นจะต้องมีความพิถีพิถันมาก เช่น ทรายที่จะนำมาใช้ ผสมกับปูนปลาสเตอร์จะต้องได้รับการคัดแยกเศษวัสดุที่ปะปนมากับทรายออกให้หมด ก่อน  เพราะหากยังมีเศษวัสดุอยู่จะทำให้ผิวพื้นวัสดุไม่สวยงามหรืออาจมีปัญหาใน ขั้นตอนการแกะสลักได้

3. ไม้เนื้ออ่อน เป็นวัสดุที่หาได้ทั่วๆ  ไปจากธรรมชาติ ไม้เนื้ออ่อนที่เหมาะสำหรับแกะสลัก เช่น ไม้โมก ไม้สัก  เป็นต้น ไม้แต่ละชนิดจะมีลายที่งดงามแตกต่างกัน ซึ่งลักษณะของเนื้อไม้นี้ เองสามารถสร้างความน่าสนใจให้กับผลงานแกะสลักได้  ดังนั้น ในการเลือกนำไม้มาแกะสลัก ผู้เรียนควรจะเลือกชนิดและขนาดให้พอเหมาะ กับลักษณะของงานแต่ละชิ้น  เพื่อไม่ให้วัสดุสิ้นเปลืองจนเกินไป อีกทั้งยังเป็นการช่วยประหยัดการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย

4. เทียนไข เป็นวัสดุสำหรับการแกะสลักที่สามารถหาได้ตามร้านค้าทั่วๆ  ไป แต่เทียนไขที่มีจำหน่ายจะเป็นเทียนไขสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับบูชาพระ ไม่สามารถนำมาใช้แกะสลักได้  ถ้าจะใช้ต้องนำมาหล่อใหม่ตามรูปทรงที่ต้องการก่อน โดยใช้การละลายกับความร้อนในภาชนะรองรับ  และก่อนการละลายเทียนไข ควรนำไส้ในของเทียนออก ทั้งนั้นเพื่อไม่ให้ไส้เทียนปะปนกับเนื้อเทียนไขที่จะใช้ในการแกะสลัก

   การเก็บรักษาเครื่องมือแกะสลัก
เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักจะมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของงานนั้นๆ เครื่องมือแกะสลักจะมีความแข็งแรงทนทานมากกว่าเครื่องมือปั้น  แต่การเก็บรักษาจะคล้ายคลึงกัน จะต่างกันตรงที่เครื่องมือแกะสลักควรจะแยกประเภทของลักษณะงาน  เช่น ชุดของเครื่องมือสำหรับแกะสลักวัสดุเนื้ออ่อน ชุดเครื่องมือสำหรับแกะสลักวัสดุเนื้อแข็ง  เป็นต้น ก่อนเก็บเข้าชุดหลังจากใช้งานเสร็จแล้วควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำแล้วเช็ดให้แห้ง  ทาน้ำยากันสนิม แล้วนำมาเก็บใส่กล่องให้เป็นระเบียบเพื่อสะดวกในการนำไปใช้งานในครั้งต่อไป

หลักและวิธีการแกะสลัก
การแกะสลักมีหลักและวิธีการสำคัญ  ดังนี้
1.  การเลือกวัสดุ  จะต้องพิจารณาคัดสรรให้สอดคล้องกับงานที่ทำ  เพราะวัสดุแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกัน  เช่น  บางชนิดมีเนื้ออ่อน  บางชนิดมีเนื้อแข็ง  เป็นต้น

2.  การเลือกเครื่องมือ  จะต้องเลือกให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของงาน  ไม่ควรเลือกใช้กับงานที่ผิดประเภท  เพราะจะทำให้เครื่องมือเสียหายได้

3. การร่างรูปและการขึ้นรูป  เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการแกะสลัก เป็นกระบวนการทางลบที่นำส่วนย่อยออกจาก ส่วนรวม  จึงต้องใช้ความระมัดระวังในการแกะสลักมากกว่าการปั้นที่ค่อยๆ พอกเพิ่ม  และประการสำคัญส่วนไหนพอกเกินก็สามารถนำออกได้ ดังนั้นการแกะสลักจึงต้องมี การวางแผนและเตรียมการให้ชัดเจนตั้งแต่การร่างรูป  กำหนดเส้น โครงสร้าง สัดส่วนของแบบที่จะแกะสลักให้แน่นอน เมื่อได้แล้วจึง ค่อยๆ  แกะสลักขึ้นรูปโครงสร้างแบบคร่าวๆ ในขั้นตอนนี้จะเป็นการฝึกการสังเกตหรือ ศึกษาภาพแกะสลักเป็นภาพรวมอย่างหยาบไปก่อน

4. การให้รายละเอียด  เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการแกะสลัก ผู้เรียนจะต้องค่อยๆ เพิ่มความชัดเจนของวัสดุที่กำลังแกะสลักอยู่  ด้วยการใช้เครื่องมือขนาดเล็กในการตกแต่งรายละเอียดให้ปรากฏขึ้นมา

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ความหมาย “สื่ออิเล็กทรอนิกส์”
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic media) หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วย  วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อาจอยู่ในรูปของ สื่อบันทึกข้อมูลประเภทสารแม่เหล็ก   เช่น แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน (floppy disk) และสื่อประเภทจานแสง(optical dis  บันทึกอักขระแบบดิจิตอลไม่สามารถอ่านได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์  บันทึกและอ่านข้อมูล

เป็นสื่อการเรียนการสอนที่เกิดจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคม การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอนจะออกมาใน ลักษณะของสื่อประสม หรือมัลติมีเดีย (Multimedia) แสดงผลออกมาหลายรูปแบบตาที่โปรแกรมไว้ เช่น มีเสียง เป็นภาพเคลื่อนไหว สามารถให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ ปัจจุบัน
สื่อประเภทนี้มีหลายลักษณะดังนี้

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บ เป็นสื่อที่พัฒนาด้วยโปรแกรมประเภท Authoringเช่น Toolbook, Director และ Authorware นำมาใช้บนเว็บโดยผ่านกระบวนการบีบอัดหรือการกระจายให้เป็นแฟ้มขนาดเล็กหลาย แฟ้ม

2. สไลด์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่พัฒนาด้วยโปรแกรมบนวินโดว์ และให้เรียกดูผ่านเว็บ หรือแปลงเป็นแฟ้มที่ดูได้บนเว็บ นิยมใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ในการพัฒนาสื่อลักษณะนี้

3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็น สื่อที่มีรูปเล่มและองค์ประกอบของเล่มหนังสือครบถ้วน เป็นสื่อที่นิยมจัดทำให้อยู่ในรูปของแฟ้มในสกุล Pdf และใช้โปรแกรม Acrobat Reader ของ Adobe ในการอ่าน

4. แผ่นใสอิเล็กทรอนิกส์ เป็น การจัดทำสื่อที่อยู่ในรูปแผ่นใส หรือเอกสารประกอบการสอนอื่นๆ ให้เป็นแฟ้มที่อยู่ในสกุล pdf โดยการสแกนหรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบแฟ้มเอกสาร

5. เอกสารคำสอนอิเล็กทรอนิกส์ (Iecture Note) อาจจัดทำให้อยู่ในรูปเอกสารในสกุล doc หรือ pdf หรือ html และเรียกดูด้วยโปรแกรมที่ใช้เรียกดูแฟ้มสกุลนั้นๆ

6. เทปเสียงคำสอนดิจิตอล จัดทำโดยใช้เทคโนโลยี RealAudio เพื่อให้เรียกฟังเสียงในลักษณะรับฟังได้ในทันทีไม่ต้องเสียเวลาในการรอการถ่ายโอนแฟ้มนาน

7. วิดีโอเทปดิจิตอล จัดทำโดยใช้เทคโนโลยี RealVideo เพื่อให้เรียกภาพวิดีโอในลักษณะรับชมได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการรอการถ่ายโอนแฟ้มนาน

8. เอกสารไฮเปอร์เท็กซ์และไฮเปอร์มีเดีย เป็นสื่อที่จัดทำโดยใช้ภาษา HTML หรือโปรแกรมช่วยสร้างเว็บเพจ ทั้งที่จัดทำเองและผู้อื่นจัดทำ แล้วเชื่อมโยงไปยังแหล่งนั้นแหล่งรวมโฮมเพจรายวิชาในเว็บแหล่งหนึ่งที่รวบ รวมโฮมเพจรายวิชาจากที่ต่างๆ ทั่วโลก
คือ World Lecture Hall มีเว็บไซต์ชื่อ http://www.utexas.edu/world/lecture/

9. วารสารและนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่มีองค์กรจัดทำและเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต มีทั้งที่ต้องสมัครเป็นสมาชิก และให้บริการเป็นสาธารณะ

สนามแม่เหล็กไฟฟ้า

สนามแม่เหล็กไฟฟ้า

1. ค้นหาแหล่งของการดึงดูด

        ถ้านัก เรียนเคยถือแม่เหล็กสองแท่งด้วยมือทั้งสองข้าง นักเรียนจะรับรู้ได้ว่ามีแรงระหว่างแม่เหล็กทั้งสอง ในลักษณะดึงดูดกันหรือไม่ก็ผลักกัน นักเรียนรู้ไว้ว่า แรงเหล่านี้เป็นผลลัพธ์ของสนามแม่เหล็กที่ถูกสร้างขึ้นมาจากอะตอมที่ประกอบ กันเป็นแท่งแม่เหล็ก

        นักเรียน ครับโดยปกติแล้ว ทุกๆ อะตอม ในวัตถุชิ้นหนึ่งจะไม่ถูกจัดเรียงในทิศทางเฉพาะ ดังนั้นสนามแม่เหล็กจำนวนเล็กน้อยที่อะตอมสร้างขึ้นมาจะหักล้างกันหมด

        อย่างไรก็ ตามมีบางวัดสุ เช่น Iron (เหล็ก) ที่อะตอม ซึ่งประกอบกันเป็น Iron สามารถจัดเรียงกันและเกิดสนามแม่เหล็กจำนวนหนึ่งชี้ในทิศทางเดียวกัน, Iron จึงเป็นวัตถุแม่เหล็ก

        เมื่อวัตถุ เป็นแม่เหล็กโดยธรรมชาติหรือเกิดอำนาจแม่เหล็กได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าภายนอกช่วย ให้นักเรียนเรียกแม่เหล็กถาวร ให้นักเรียน ดูรูป 12


รูป 12 แรงที่ใช้โดยแม่เหล็กถาวร

        สภาวะแม่ เหล็กจะคล้ายกับไฟฟ้าในลักษณะที่ไฟฟ้ามีประจุบวกและประจุลบ ในสภาวะแม่เหล็กก็จะมีขั้วแม่เหล็กที่เรียกว่า ขั้วเหนือและขั้วใต้

ในสนามไฟฟ้า เส้นแรงไฟฟ้าออกจากประจุบวกไปยังประจุลบ

ในสภาวะแม่เหล็ก เส้นแรงแม่เหล็กไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้น

 

ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า  Electromagnetism คือ วิชาฟิสิกส์ที่ศึกษาสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นสนามที่แผ่ไปในปริภูมิ (space) และออกแรงกระทำต่ออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า มีผลทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอนุภาคนั้น โดยแรงแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหนึ่งในสี่อันตรกิริยาพื้นฐาน อันประกอบไปด้วยแรงนิวเคลียร์ชนิดเข้ม, แรงแม่เหล็กไฟฟ้า, แรงนิวเคลียร์ชนิดอ่อน, และแรงโน้มถ่วง

สนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็ก

สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก (Electric and Magnetic Field: EMFs) จะหมายถึงเส้นสมมุติที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงอาณาเขตและความเข้มของเส้นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุที่มีความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า (เรียกว่า สนามไฟฟ้า) และที่เกิดขึ้นโดยรอบวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหล (เรียกว่า สนามแม่เหล็ก) ในกรณีกล่าวถึงทั้ง สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กพร้อมกันมักจะเรียกรวมว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Field: EMF)
หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือ

สนามแม่เหล็กไฟฟ้ายังสามารถแบ่งออกเป็น     สนามแม่เหล็กไฟฟ้าสถิตที่ไม่มีการเปลี่ยนตามเวลา (Static Field หรือDC Field) ตัวอย่างเช่น  สนามไฟฟ้าระหว่างก้อนเมฆกับพื้นโลก    สนามแม่เหล็กจาก แม่เหล็กถาวร  สนามแม่เหล็กโลก เป็นต้น

สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากระบบการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแถบคลื่นความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Spectrum) ซึ่งแถบคลื่นความถี่นี้จะเป็นตัวบอกถึงระดับพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Energy หรือ Photon Energy) โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงจะมีระดับของพลังงานสูง และ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำก็จะมีระดับของพลังงานที่ต่ำ

แถบคลื่นความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเรียงลำดับความถี่
จากสูงไปสู่ต่ำ เป็นดังนี้   รังสีคอสมิก   รังสีแกมมา    รังสีเอ็กซ์
แสงอาทิตย์  คลื่นความร้อน   คลื่นไมโครเวฟ    คลื่นวิทยุ   และ สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า ดังแสดงในรูป

อย่างไรก็ตาม สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแถบความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความแตกต่างกันอย่างมากเมื่อเทียบกับรังสีแกมมาซึ่งมีความถี่อยู่ในย่านการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำให้เกิดไอออน (Ionization Radiation)และสามารถทำลายการยึดเหนี่ยวของโมเลกุลได้เราอาจเข้าใจสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าจะสร้างสนามไฟฟ้า และทำให้เกิดแรงไฟฟ้าขึ้น แรงนี้ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต และทำให้เกิดการไหลของประจุไฟฟ้า (กระแสไฟฟ้า) ในตัวนำขึ้น ขณะเดียวกัน อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ จะสร้างสนามแม่เหล็ก และทำให้เกิดแรงแม่เหล็กต่อวัตถุที่เป็นแม่เหล็ก

คำว่า “แม่เหล็กไฟฟ้า” มาจากข้อเท็จจริงที่ว่า สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ถ้ากฏของฟิสิกส์จะเหมือนกันใน ทุก กรอบเฉื่อย การเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดสนามไฟฟ้า (เรียกว่าการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า ปรากฏการณ์นี้เป็นพื้นฐานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและมอเตอร์ไฟฟ้านั่นเอง) ในทางกลับกัน การเปลี่ยนแปลงสนามไฟฟ้า ก็ทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก

เนื่องจาก สนามทั้งสองไม่สามารถแยกจากกันได้ จึงควรรวมให้เป็นอันเดียวกัน เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ เป็นผู้รวมสนามไฟฟ้ากับสนามแม่เหล็กเข้าด้วยกันด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ เพียงสี่สมการ ที่เรียกว่า สมการของแมกซ์เวลล์ ทำให้เกิดการพัฒนาฟิสิกส์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19เป็นอย่างมาก และนำไปสู่ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น แสงนั้น อธิบายได้ว่าเป็นการสั่นของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่กระจายออกไป หรือเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั่นเอง ความถี่ของการสั่นที่แตกต่างกันทำให้เกิดรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่แตกต่างกัน เช่น คลื่นวิทยุเกิดจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำ แสงที่มองเห็นได้เกิดจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ปานกลาง รังสีแกมมาเกิดจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง



แอมมิเตอร์ (Ammeter)

 แอมมิเตอร์    เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า    ซึ่งดัดแปลงจากการนำความต้านทาน (ชันต์)  ที่มีค่าน้อยๆ มาต่อ
ขนานกัลแกลแวนอมิเตอร์  เพื่อแบ่งกระแสไม่ให้ไหลผ่านแกลแวนอมิเตอร์มากเกินไป  จนทำให้แกลแวนอมิเตอร์พังได้
เมื่อเราต้องการวัดกระแสที่มีค่ามากๆ
     1.  นำชันต์ต่อขนานกับแกลแวนอมิเตอร์
2.  ชันต์ต้องมีค่าน้อยๆ เพื่อให้กระแสแยกไหลผ่านชันต์มากๆ เพื่อช่วยลดกระแสที่จะไหลผ่านแกลแวนอมิเตอร์

คุณสมบัติของแอมมิเตอร์ที่ดี

1.  มีความแม่นยำสูง    ซึ่งเกิดจากการนำชันต์ที่มีความต้านทานน้อยๆ   มาต่อ เพื่อว่าเมื่อนำแอมมิเตอร์ไปต่อ
อนุกรมในวงจรแล้ว   จะไม่ทำให้ความต้านทานรวมของวงจรเปลี่ยนแปลง  ทำให้กระแสที่วัดได้มีความแม่นยำ
สูง  หรือมีความผิดพลาดจากการวัดน้อย
2.  มีความไว  (Sensitivity)  สูง    เมื่อชันต์มีค่าน้อยๆ  กระแสที่ไหลผ่านชันต์   จะมีค่ามาก   ทำให้กระแสที่ไหล
ผ่านแกลแวนอมิเตอร์  มีค่าน้อย    นั่นคือ  แอมมิเตอร์ที่ดีจะสามารถตรวจวัดค่ากระแสน้อยๆ ได้  กล่าวคือ  แม้
วงจรจะมีกระแสไหลเพียงเล็กน้อย  แอมมิเตอร์ก็สามารถวัดค่าได้

การนำไปใช้วัด

ใช้แอมมิเตอร์ไปต่ออนุกรมในวงจรในสายที่ต้องการทราบค่ากระแสที่ไหลผ่าน  เหมือนกับการวัดกระแสน้ำก็
ต้องนำเครื่องมือวัดไปจุ่มลงน้ำด้วย

การต่อแอมมิเตอร์

. การต่อแอมมิเตอร์ที่ถูกต้อง นอกจากจะต้องต่ออนุกรมเข้ากับวงจรแล้ว เราจะต้องต่อด้านบวก(ปุ่มสีแดง)ของแอมมิเตอร์เข้ากับขั้วบวกของเซลล
์ไฟฟ้าและด้านลบ(ปุ่มสีดำ)ของแอมมิเตอร์เข้ากับขั้วลบของเซลล์ไฟฟ้าจึงจะทำ ให้ผลการวัดเป็นไปอย่างถูกต้องและถ้าเราต่อกับด้านแล้วเข็มของแอมมิเตอร
์จะเบนไปทางด้านที่ต่ำกว่าศูนย์ ซึ้งไม่สามารถอ่านค่าได้

……… สำหรับ วงจรที่มีมีอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายตัวแต่ยังคงเป็นวงจรแบบลูปเดียว เราสามารถวัดวงจรกระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจร หรือไหลผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัวได้โดยต่อแอมมิเตอร์เข้าไปตรงตำแหน่งใด ของวงจรก็ได้ ( A1-A6 ) แต่ยังต้องเป็นการต่อแบบอนุกรมเพราะกระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรแบบนี้จะเป็น กระแสไฟฟ้า

ค่าเดียวกันทั้งวงจร

การต่อวงจรเดียว

( ที่มา www.siamfishing.com )

การวัดความต่างศักย์ สามารถวัดได้ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า โวลต์มิเตอร์( Voltmeter ) นิยมเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ โดยนำโวลต์มิเตอร์
มาต่อคร่อมจุด 2 จุดใดๆ หรือคร่อมอุปกรณ์ที่เราต้องการวัดวัดความต่างศักย์ไฟฟ้า ซึ่งความต่างศักย์จะมีหน่วยเป็นโวลต์ เขียนแทนด้วยอักษร v

………

( ที่มา www.siamfishing.com )

……… การ ต่อโวลต์มิเตอร์จะต้องต่อแบบขนานเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อเป็นการวัดความต่างศักย์ที่ตกคร่อมอุปกรณ์ตัวนั้นๆ และเช่นเดียวกับแอมมิเตอร์ คือ กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าสู่โวลต์มิเตอร์ทางด้านบวก และออกจากโวลต์มิเตอร์ทางด้านลบ ดังนั้นเราจึงต้องต่อด้านบวกของโวลต์มิเตอร์เข้ากับขั้วบวกของ
เซลล์ไฟฟ้า และต่อด้านลบของโวลต์มิเตอร์ เข้ากับขั้วลบของเซลล์ไฟฟ้า

การต่อวงจรในการวัดความต่างศักย์

………

( ที่มา www.siamfishing.com )

……… ค่า ความต่างศักย์วัดได้จะบอกให้เราทราบถึงความดันไฟฟ้าหรือพลังงานที่ใช้ในการ เคลื่อนที่ประจุไฟฟ้าขนาด 1 หน่วยจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งความต่างศักย์ของถ่านไฟฉายแต่ละก้อนมีค่า ประมาณ 1.5 โวลต์ของแบตเตอรี่รถยนต์ส่วนใหญ่มีค่าประมาณ 12 โวลต์ และความต่างศักย์ของไฟฟ้าในบ้านมีค่าประมาณ 220 โวลต์ค่าความต่างศักย์ที่มากแสดงให้รู้ว่ามีพลังงานไฟฟ้ามากเช่นกัน ดังนั้นเราจึงพอทราบอย่างคร่าวๆ ว่าอุปกรณ์หรือเซลล์ไฟฟ้าแต่ระตัวจะมีอันตรายมากน้อยเพียงใดหากใช้อย่างไม่ ระมัดระวัง

……… การ ที่เราใช้แอมมิเตอร์ต่ออนุกรมเข้าในวงจร ก็เพื่อให้กระแสไฟฟ้าทั้งหมดไหลผ่านแอมมิเตอร์ ดังนั้น แอมมิเตอร์จึงควรมีความต้านทนน้อยๆ เราจึงสามารถวัดกระแสไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องเพราะว่าถ้าแอมมิเตอร์มีความต้าน ทานมาก จะทำให้ความต้านทานภายในวงจรมากขึ้น และเป็นผลให้ปริมาณกระแสไฟฟ้า
ที่วัดลดลง

 

 


ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพ (อังกฤษ: Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (อังกฤษ: Species) สายพันธุ์ (อังกฤษ: Genetic) และระบบนิเวศ (อังกฤษ: Ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก

ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ

ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียวตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่า

ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชมีท่อลำเลียง (อังกฤษ: vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (UNEP 1995)

ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน

ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ ‘บริการทางสิ่งแวดล้อม‘ (อังกฤษ: environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น

งๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น

img1.gif

ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง การมีชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่ร่วมกัน ณ สถานที่หนึ่งหรือระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่ง

ความหลากหลายทางชีวภาพมี 3 ระดับ

1 ความหลากหลายทางนิเวศวิทยา ( Ecolosystem Diversity )

2 ความหลากหลายทางพันธุกรรม ( Genetic Diversity )

3 ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ ( Species Diversity )